http://thaiherbsbeauty.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 HOME

 PRODUCT

 ORDER / PAYMENT

 WEBBOARD

 DELIVERY STATUS

 CONTACT US

สถิติ

เปิดเว็บ27/03/2009
อัพเดท23/09/2021
ผู้เข้าชม255,273
เปิดเพจ395,883

สมุนไพร ใกล้ตัว

บทความที่น่าสนใจ

ข่าว สมุนไพร

Q & A

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

บริการ

หน้าแรก
Hot Items
เว็บบอร์ด
iGetWeb.com
AdsOne.com

ขิง (Ginger)

ขิง (Ginger)

ชื่อวิทยาศาตร์ Zingiber officinale Rosc.1

ชื่ออังกฤษ -

ชื่อท้องถิ่น ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี); ขิงเผือก (เชียงใหม่); สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)1

ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ แทงหน่อใหม่ออกทางด้านข้างด้านนอกสุด เหง้าหรือลำต้นแท้จะเป็นข้อ ๆ เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน สุดของข้อจะเป็นยอดหรือต้นเทียม สูงพ้นพื้นดินขึ้นมา 50-100 ซม. ลำต้นเทียมโต ขนาดแท่งดินสอดำ มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยง ๆ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 12-20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางน้ำ ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบและจะเป็นกาบ หุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงต่อระหว่างกาบตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอกสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ ซึ่งแทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15-25 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงรูปโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไวโคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผลกลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.2

ส่วนที่ใช้ทำยา เหง้าแก่สด2

สรรพคุณและวิธีใช้ 1. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม

2. แก้ไอ และขับเสมหะ
- ใช้เหง้าฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

3. ลดความดัน
- ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน2

ผลิตภัณฑ์ น้ำขิง มีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีสารเบต้า-คาโรทีน ซึ่งช่วยต้านทานโรคมะเร็ง สรรพคุณ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และขับเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เมารถ เมาเรือ ช่วยเจริญอาหาร กินข้าวได้ โดยเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อยต่างๆ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร


ที่มา
1. เต็ม สมิตินันทน์ "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)" พิมพ์ที่ หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง กรุงเทพฯ 2523 หน้า 355.
2. นันทวัน บุณยะประภัศร "ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม 1" พิมพ์ที่ ธรรกมลการพิมพ์ กรุงเทพฯ 2529 หน้า 45-64.
3. ปัจจุบัน เหมหงษา บรรณาธิการ "สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน" พิมพ์ที่ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ 2541 หน้า 45-64.(รูปภาพ)



view
view