http://thaiherbsbeauty.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 HOME

 PRODUCT

 ORDER / PAYMENT

 WEBBOARD

 DELIVERY STATUS

 CONTACT US

สถิติ

เปิดเว็บ27/03/2009
อัพเดท23/09/2021
ผู้เข้าชม255,257
เปิดเพจ395,867

สมุนไพร ใกล้ตัว

บทความที่น่าสนใจ

ข่าว สมุนไพร

Q & A

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

บริการ

หน้าแรก
Hot Items
เว็บบอร์ด
iGetWeb.com
AdsOne.com

สมุนไพรรสฝาด

      “หน้า ร้อนเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ผืนดินร้อน น้ำในดินระเหยขึ้นเบื้องบน ขณะที่ ความร้อนจากบนฟ้าเคลื่อนที่ลงล่าง ทำให้ความกดอากาศต่ำ อากาศร้อนอบอ้าว มีฝนตก ทำให้อากาศมีทั้งความร้อนและความชื้นปะปนกัน ความร้อน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ถ้าอากาศร้อนจัด ๆ จะทำให้เป็นลม จากการเมาแดด เมาความร้อนกันมาก หัวใจเป็นธาตุไฟ ความร้อนจัดของฤดูร้อนทำให้ไฟธาตุของหัวใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และอาจมีอาการทางจิตประสาทได้” (จากหนังสือชีวิตสมดุลแบบแพทย์แผนจีน เขียนโดย หมอไพร)

       ไม่ เพียงเท่านั้น อากาศร้อนยังทำให้อาหาร เกิดการบูดเน่าเร็วขึ้น เชื้อโรคและแบคทีเรียมีโอกาสเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วในช่วง นี้ ทำให้เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็น โรคท้องร่วง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด บิด ร้อนใน อ่อนเพลีย เป็นต้น

สมุนไพรรสฝาด เกี่ยวข้องอย่างไรกับสุขภาพคนเรา
       ตามหลักการแพทย์แผนไทย นิยมใช้สมุนไพร ที่มีรสฝาดมาบำบัด บรรเทา และป้องกันอาการต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน ซึ่งพบได้มากในพืชผักสมุนไพรจำพวกข้าวโพด ถั่ว ใบชา กาแฟ เปลือกเงาะ เปลือกมังคุด เปลือกและเมล็ดองุ่น เปลือกทับทิม ฝรั่ง มะกอกไทย หัวปลี หยวกกล้วย กล้วยน้ำว้า ลูกฉิ่ง ดอกและเปลือกแค ผักเม็ก ผักกระโดน มะตูม มะขามป้อม ลูกหว้า เป็นต้น

       รสฝาดที่มีในพืชผักสมุนไพร มีสารสำคัญที่เรียกว่า “แทนนิน” มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ พบได้มากในเปลือกของต้นไม้หรือในแก่นของพืช มีฤทธิ์ช่วยฆ่า เชื้อโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย จึงนำมาใช้แก้ท้องร่วง แก้บิด ช่วยฆ่าเชื้อโรค สมานแผล บำรุงธาตุ เคลือบกระเพาะอาหาร และแก้ร้อนในได้ดี แต่หากกินมากเกินไปจะให้ผลในทางตรงกันข้าม โดยแทนนินจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูกเป็นพรรดึก เกิดโรคลม และ ทำให้กระหายน้ำ

       การบริโภคพืชผักสมุนไพรที่มีรสฝาดจึงต้องบริโภคให้พอดี ระวังอย่าให้มากเกินไป โดยสามารถนำมาทำเป็นอาหารหรือทำเป็นชาสมุนไพรดื่มก็ได้ประโยชน์ต่อร่างกาย ยกตัวอย่างดังนี้

       • แค ใครที่มีอาการร้อนใน ปากเป็นแผล ให้ใช้เปลือกแคชั้นในที่มีสีน้ำตาลอ่อนมาเคี้ยว สัก 3-5 นาที แล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ภายใน 3 วัน อาการที่เป็นอยู่จะหายไป ส่วนดอกนำไปทำแกงส้มดอกแค ใช้แก้ไข้หัวลมได้ดี

       • ทับทิม นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มแก้อาการบิดที่มีอาการปวดเบ่ง มีมูกเลือด แต่หากอาการหนักและถ่ายบ่อยครั้งต้องรีบไปพบแพทย์ ส่วนผลทับทิมมีสรรพคุณต้านการอักเสบ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องร่วง และดับพิษ

       • ฝรั่ง
              - ใช้ใบหรือผลอ่อนต้มกับน้ำ ดื่มแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง
              - เคี้ยวผลดิบครั้งละ 1-2 ผล หรือใช้ยอดอ่อน 6-8 ใบ ค่อย ๆ เคี้ยว ค่อย ๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม หากรู้สึกฝาดมากจะเคี้ยวกับเกลือเพื่อให้กินง่ายขึ้นก็ได้ หากกลั้นใจเคี้ยวได้ทั้งใบและผลจะได้ผลดีมาก เพราะได้ตัวยาครบ อาการท้องเดิน ท้องร่วงที่เป็นอยู่จะหายอย่างรวดเร็ว
              - นำยอดฝรั่งสัก 7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ มาชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว และให้ดื่มบ่อย ๆ หรือจะใช้วิธีนำใบฝรั่ง 6-10 ใบ มาตำให้ละเอียด ผสม น้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน นำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำมาผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมดก็แก้อาการได้เช่นเดียวกัน

       • ข่อย นำเปลือกมาต้มดื่มแก้ท้องร่วงได้ดี

       • มะตูม ผลแห้งนำมาต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ฆ่าเชื้อในลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหาร

       • มะเดื่ออุทุมพร นำเปลือกมาต้ม แก้ท้องร่วง และชำระล้างแผลได้

       • มังคุด
              - นำเปลือกมังคุดครึ่งผล ต้มกับน้ำให้พอมี ฤทธิ์อ่อน ๆ ไม่ต้องแรงมาก ความแรงประมาณ 1 ใน 10 ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยยาดองเหล้า หรือ ครั้งละ 1 ช้อนชา ใช้รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้
              - นำเปลือกมังคุดตากแห้งมาต้มกับน้ำปูนใส ให้เด็กกินครั้งละ 1-2 ช้อนชา ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง ใช้แก้อาการท้องเดิน ท้องร่วง
               - นำเปลือกผลแห้งมาย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว หรือจะบดเป็นผง แล้วละลายกับน้ำสุก ดื่มทุก 2 ชั่วโมง เป็นยาแก้บิดที่มีมูกเลือดได้ดี

       • กล้วยน้ำว้า กล้วยดิบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้รักษาอาการท้องเดิน ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้กล้วยดิบหั่นเป็นแว่นตากให้แห้ง นำไปบดเป็นผง ใช้รักษาอาการท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ รักษาแผล ในกระเพาะอาหาร กล้วยสุกมีสรรพคุณเป็นยาระบาย

       • องุ่น มีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยขับปัสสาวะ ระงับอาเจียน ดับกระหาย คลายหงุดหงิด แก้โรคกระเพาะอาหาร

       • ลูกบัว ใช้แก้ท้องร่วง บำรุงไต บำรุงหัวใจ ระงับประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ

       • รากบัว ชาวจีนนิยมใช้รากบัวเป็นยาแก้ร้อนใน ดื่มได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีรสชาติอร่อย โดยนำรากบัวมาฝานเป็นแว่นใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน 10-15 นาที ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว คนที่ชอบรสหวานอาจเติมน้ำตาลลงไปได้เล็กน้อย หากไม่มีเวลาต้ม ให้นำรากบัวสดมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง ให้มีฤทธิ์แรงกว่าต้มรากบัว แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้


       • ใบบัวบก มีรสขมซ่า กลิ่นหอม สรรพคุณแก้ร้อนใน ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด นำมาทำน้ำใบบัวบกดื่มเย็น ๆ ชื่นใจดี 

       อย่าง ไรก็ตาม ช่วงหน้าร้อนนี้ นอกจากพืชผักสมุนไพรที่มีรสฝาดแล้ว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มก็ช่วยคลายร้อนได้ดี เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำระกำ น้ำมะยม

       นอก จากนี้ น้ำผักและน้ำผลไม้บางชนิดก็มีสรรพคุณแก้ร้อนใน แก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะได้ เช่น น้ำแตงกวา น้ำบัวหลวง น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำเก๊กฮวย น้ำแตงโม น้ำแตงไทย น้ำมันแกว น้ำองุ่น น้ำแห้ว น้ำมะตูม น้ำทับทิม น้ำมะขาม น้ำมะเฟือง น้ำอ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกดื่มได้ตามความชอบ

       พืช ผักสมุนไพรใกล้ตัวเราล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น หากเราหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากเราจะใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างและป้องกันร่างกายก่อนเจ็บป่วยได้ แล้ว เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาก็สามารถนำพืชผักที่มีอยู่มาดูแลรักษาตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอหรือร้านขายยาเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญพืชผักเหล่านี้ราคาถูกกว่ายาหรือไปหาหมอหลายเท่า อยู่ที่เราจะเลือกหยิบมาใช้ประโยชน์หรือไม่เท่านั้น 

เมนูเสริมสุขภาพช่วงหน้าร้อน
      รากบัวซี่โครงหมูตุ๋นยาจีน
       ส่วนผสม

ซี่โครงหมู

< /td>
600 กรัม

รากบัว   

600 กรัม
น้ำ 2 ลิตร

 เครื่องยาจีนสำหรับตุ๋น 1 ชุด (เก๋ากี้ ฮ่วยซัว ปักคี้ แปะเจียก เง็กเต็ก)                       

 

เกลือหรือน้ำปลา

 

       วิธีทำ
       1. ปอกเปลือกรากบัวล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นหนาประมาณ 3/4 เซนติเมตร พักไว้
       2. ล้างซี่โครงหมูให้สะอาด ใส่ลงไปในน้ำเดือดที่ต้มด้วยเครื่องยาจีนและเกลือ พอน้ำเดือดใส่รากบัวลงไป รอให้เดือดอีกครั้ง ลดไฟใช้ไฟอ่อน (น้ำซุปจะได้ใส) ตุ๋นไปเรื่อย ๆ จนทุกอย่างนุ่ม ปรุงรสให้พอดี ตักเสิร์ฟ
                     

คุณค่าน่ารู้
       เมนูนี้ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง หรือใช้เป็นยาเย็น ได้ดี แถมยังทำง่าย เพียงแต่ต้องใช้เวลา เพราะต้องตุ๋นนาน เพื่อให้ซี่โครงเปื่อยและรากบัวนิ่ม

     ชามะตูม
      ส่วนผสม

ผลมะตูมอ่อนฝานตากแห้ง          5 ชิ้น 
น้ำเดือด                                          1 กระติก

       วิธีทำ
       1. นำมะตูมที่ฝานตากแห้งไปย่างไฟให้เกรียม พอประมาณ
       2. เมื่อได้ที่วางมะตูมลงในถ้วย เทน้ำร้อนใส่ ลงไป ทิ้งไว้สักครู่ให้มะตูมออกสี จึงดื่มเช่นเดียวกับชาทั่วไป

คุณค่าน่ารู้
       มะตูมมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับถ่าย ขับลม ช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดี แก้ลมจุกเสียด บำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร

      แกงส้มดอกแค
      ส่วนผสม

ปลาช่อน                 1 ตัว (500 กรัม) 
น้ำพริกแกงส้ม       1 ถ้วย (100 กรัม)
น้ำเปล่า 1-2 ถ้วย
ดอกแค   100 กรัม
น้ำมะขามเปียก     3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล                   1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว                    2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา                   3 ช้อนโต๊ะ
กะปิ                      1 ช้อนชา

      วิธีทำ
      1. นำปลาช่อนมาทำความสะอาด ขอดเกล็ดตัดหัวออก และหั่นส่วนตัวเป็นชิ้น ๆ
      2. ใส่น้ำสะอาดในภาชนะ ปิดฝาให้สนิท ตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาช่อนลงต้มน้ำในหม้อ
      3. เมื่อปลาสุกให้นำส่วนหัว 3 ชิ้น ไปโขลกรวมกับน้ำพริกแกง ละลายน้ำใส่หม้อ ตั้งไฟให้เดือด
      4. ใส่ดอกแคที่เตรียมไว้ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว น้ำตาล ปิดฝาหม้อ ตั้งไฟต่ออีก 5 นาที (ชิมรสให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน) แล้วยกลง พร้อมเสิร์ฟ

คุณค่าน่ารู้
      - น้ำพริกแกงส้ม มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมและช่วยย่อย
      - ดอกแค ใช้แก้ไข้หัวลม
      - มะขามเปียก มีรสเปรี้ยว ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ และลดความร้อนในร่างกาย
      - มะนาว มีรสเปรี้ยว ใช้แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน  
view
view